การประกอบสร้างรูปแบบการดาเนินชีวิตของวัยทางานตอนต้นในภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ
BY อาจารย์อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย
ประเภทงานวิจัย:งานวิจัย
ปีที่เผยแพร่:2018
ระดับงานวิจัย:ระดับชาติ
คำสำคัญ:ภาพยนตร์ไทย, วัยทางานตอนต้น, การประกอบสร้างความจริงทางสังคม, Thai film, young adults’ lifestyle, The Social Construction of Reality
บทคัดย่อ:
การศึกษาเรื่อง “การประกอบสร้างรูปแบบการดาเนินชีวิตของวัยทางานตอนต้นในภาพยนตร์ : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตัวบท (textual analysis) ภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2558) เพื่อศึกษาถึงการประกอบสร้างรูปแบบการดำเนินชีวิตของวัยทำงานตอนต้นในภาพยนตร์ว่าถูกให้ความหมายอย่างไร รวมถึงสารวจตรวจหาอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังการประกอบสร้างนั้น ด้วยการศึกษาจากกรอบแนวทฤษฎีที่สาคัญต่างๆ อาทิ 1) แนวคิดสัญวิทยา 2) แนวคิดการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคม 3) แนวคิดเจนเนอเรชั่น 4) แนวคิดวัยทำงานตอนต้น 5) แนวคิดรูปแบบการดำเนินชีวิต 6) แนวคิดการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ และ 7) ทฤษฎีประพันธกร เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวบท
ผลการศึกษาพบว่าภาพยนตร์เรื่อง ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2558) ได้มีการปรุงแต่งและสร้างความหมายให้กับรูปแบบการดำเนินชีวิต(ตัวละคร)วัยทำงานตอนต้น โดยมีสาระสาคัญดังนี้
1) วิถีชีวิตที่กดดัน : ความเครียดจากสภาพการทำงานที่เร่งรีบ และการแข่งขันสูง
2) วิถีแห่งความไม่สมดุล : ความล้มเหลวในการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
3) วิถีแห่งอดีตที่โหยหา : การหวนระลึกถึงอดีตวัยเยาว์ที่มีความสุขเพื่อหลีกหนีปัจจุบันที่โหดร้าย
4) วิถีแห่งการเอาชนะ : ความพยายามที่จะก้าวพ้นขีดจำกัดทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจเพื่อความสาเร็จในการงาน
5) วิถีแห่งการสมยอมและยอมรับ : การยอมถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำงาน และการเข้าใจและยอมรับความแตกต่าง
6) วิถีชีวิตที่อุทิศเพื่องาน : การใช้ชีวิตที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อหน้าที่การทำงานเป็นที่ตั้ง
7) วิถีชีวิตที่โดดเดี่ยว และมุ่งหมายเพื่อตัวเอง : การขาดหายไปของความสัมพันธ์ในครอบครัว และความเพิกเฉยต่อบริบทต่างๆในสังคม
8) วิถีแห่งการสร้างสรรค์ : ความต้องการในการพยายามคิดทำสิ่งใหม่ ที่อาจดูขัดแย้งกับประเพณี-วัฒนธรรม

นอกจากนี้แล้วผลการศึกษายังทำให้ค้นพบว่าอิทธิพลที่สาคัญยิ่งในการประกอบสร้างความหมายในภาพยนตร์คือ ผู้กากับภาพยนตร์ ที่ได้นำทั้งทัศนคติและประสบการณ์ส่วนตัวในการทำงานมาปรุงแต่งและประกอบสร้างลงในภาพยนตร์อย่างแยบคายจนกลายเป็นความจริงทางสังคมชุดใหม่ที่เกี่ยวกับคนวัยทางานตอนต้น