ผลกระทบของแหล่ง ข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์
BY รองศาสตราจารย์รุจน์ โกมลบุตร
ประเภทงานวิจัย:งานวิจัย
ปีที่เผยแพร่:2017
ระดับงานวิจัย:ระดับชาติ
คำสำคัญ:-, -
บทคัดย่อ:
การศึกษาเรื่อง “ผลกระทบของแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา
ลักษณะของผลกระทบของแหล่งข่าวกรณีที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์
กับผลกระทบต่อแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิดสิทธิ์
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แนวคิดเรื่องสิทธิเสรีภาพ และแนวคิดเรื่องจริยธรรมสื่อ
กลุ่มตัวอย่างเป็นการใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ๒ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบจาก
การที่สื่อละเมิดสิทธิ์จำนวน ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๓ คน รวม ๑๒ คน ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้ป่วย กลุ่ม
บุคคลทั่ว ไป และ กลุ่มบุคคลที่มีชื่อเสียง และ (๒) นักวิชาการและผู้บริหารสภาวิชาชีพสื่อ ใช้การสัมภาษณ์
เจาะลึกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
ผลการศึกษาในจุดประสงค์ที่ ๑ พบผลกระทบของแหล่งข่าวจากการถูกละเมิดสิทธิ์ ๒ ประเภท
ได้แก่ ผลกระทบด้านลบจำนวน ๘ ลักษณะ คือ (๑) สูญเสียความเป็นส่วนตัว (๒) ผลกระทบด้านจิตใจ (๓)
ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน (๔) ผลกระทบต่อชื่อเสียง หน้าที่การงาน และการสู้คดี (๕)
ผลกระทบต่อการสูญเสียชีวิต (๖) ผลกระทบในการขัดขวางการทำ งานของเจ้าหน้าที่ (๗) ผลกระทบต่อ
ความน่าเชื่อถือของสื่อ (๘) อื่นๆ และผลกระทบด้านบวกจำนวน ๒ ลักษณะคือ (๑) ทา ให้คดีมีความคืบหน้า
แหล่งข่าวได้รับความเป็นธรรม และ (๒) แหล่งข่าวได้รับกำลังใจและความช่วยเหลือจากสังคม
ผลการศึกษาในจุดประสงค์ที่ ๒ พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับผลกระทบต่อแหล่งข่าวที่ถูกสื่อมวลชนละเมิด
สิทธิ ์๙ ปัจจัย คือ (๑) การที่สื่อ กองบรรณาธิการ และองค์กรสื่อ ไม่ละเอียดอ่อนต่อการเคารพสิทธิ์ของ
แหล่งข่าว (๒) การที่แหล่งข่าวไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิ ์(๓) การที่สภาวิชาชีพสื่อไม่มีประสิทธิภาพ
ในการกำกับดูแลสมาชิก (๔) การที่หน่วยราชการละเมิดสิทธิ์ของประชาชน (๕) ปัจจัยเวลา (๖) ครอบครัว
และชุมชน (๗) การที่สังคมผลักดันให้สื่อละเมิดสิทธิ ์(๘) การเยียวยา และ (๙) อื่นๆ
ข้อเสนอแนะคือ (๑) สื่อ กองบรรณาธิการ และองค์กรสื่อ ต้องเพิ่ม ความละเอียดอ่อนต่อการเคารพ
สิทธิ์ของแหล่งข่าว เช่น แจ้งเงื่อนไขและรายละเอียดการสัมภาษณ์ให้แหล่งข่าวทราบ ปกปิดเอกลักษณ์ของ
แหล่งข่าวเมื่อจำเป็น นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่นาเสนอเนื้อหาที่มีความรุนแรง ไม่นาเสนอภาพศพ ฯลฯ
(๒) แหล่งข่าวต้องรักษาสิทธิ์ของตัวเอง เช่น ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์กับสื่อ หรือ แจ้งให้สื่อปกปิดเอกลักษณ์
หรือ ร้องเรียนเมื่อถูกละเมิดสิทธิ ์และ (๓) สภาวิชาชีพสื่อต้องเพิ่ม การประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วม
ของประชาชน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งหมด ๑๖ ราย มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๘ รายต้องการสภา
วิชาชีพสื่อที่มีองค์ประกอบของสื่อและรัฐร่วมกันกำกับสื่อ ตามด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๗ รายต้องการให้สื่อ
กำกับกันเอง และกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๑ รายต้องการให้รัฐกำกับสื่อ