การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนพิการทางการเห็นในฐานะผู้ผลิต
BY รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริมิตร ประพันธ์ธุรกิจ
ประเภทงานวิจัย:งานวิจัย
ปีที่เผยแพร่:2017
ระดับงานวิจัย:ระดับชาติ
คำสำคัญ:การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, คนพิการทางการเห็น, การผลิตเสียงบรรยายภาพ, participatory communication/visually impaired person/audio description production.
บทคัดย่อ:
งานวิจัยเรื่อง “การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของคนพิการทางการเห็นในฐานะผู้ผลิตเสียงบรรยายภาพ” มีเป้าหมายในการศึกษาเพื่อหาคาตอบว่าคนพิการทางการเห็นเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตเสียงบรรยายภาพในฐานะ “ผู้ผลิต” ได้มากน้อยเพียงใด และภายใต้เงื่อนไขอย่างไรบ้าง การศึกษาวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) โดยออกแบบให้กลุ่มตัวอย่างที่พิการทางการเห็นและกลุ่มที่เป็นคนทั่วไปมาใช้ชีวิตทากิจกรรมร่วมกันในลักษณะกิจกรรมเข้าค่าย งานวิจัยอาศัยแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม แนวคิดการสื่อสารแบบลู่เข้าหากัน แนวคิดเกี่ยวกับเสียงบรรยายภาพ และแนวคิดเกี่ยวกับคนพิการ มาใช้เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหา การออกแบบงานวิจัย การสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนการเข้าสู่กิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ช่วงระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และช่วงหลังการเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งการเก็บข้อมูลใช้วิธีการสังเกต การสัมภาษณ์รายบุคคล การสัมภาษณ์กลุ่ม การสนทนากลุ่มย่อย และการอ่านบันทึกประจาวันของกลุ่มตัวอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการรับรู้ ความเข้าใจ และพฤติกรรมต่อกลุ่มตัวอย่าง โดยช่วงแรกก่อนรู้จักกันเป็นความรู้สึก “แยกส่วนต่อกัน” แต่เมื่อได้เข้ามาทากิจกรรมสร้างความคุ้นเคยกันทาให้เกิด “การรวมใจเป็นมิตรที่ดีต่อกัน” และหลังการผลิตเสียงบรรยายภาพ กลุ่มตัวอย่างรับรู้และเข้าใจว่าคนพิการทางการเห็นและคนทั่วไป “ทางานและอยู่ร่วมกันได้” ทั้งนี้ ผลการวิจัยพบด้วยว่าคนพิการทางการเห็นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ผลิตเสียงบรรยายภาพได้ โดยเงื่อนของการเป็นผู้ผลิตต้องออกแบบการทางานเป็นทีมและมีสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นคนที่มองเห็นภาพได้ และอุปกรณ์บางส่วนจาเป็นต้องเอื้อต่อการใช้งานสาหรับคนพิการทางการเห็นด้วย
การเปลี่ยนโครงสร้างระบบการผลิตงานเสียงบรรยายภาพที่ให้คนพิการทางการเห็นเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะผู้ผลิต ต้องอาศัยปัจจัยสนับสนุนบางประการ ได้แก่ พื้นที่ที่ผู้คนเปิดใจยอมรับคนพิการ ผู้เอื้ออานวยให้เกิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และการออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างความคุ้นเคยกันก่อนเริ่มต้นทางาน แต่ปัจจัยที่มีความสาคัญที่สุด คือการสร้างการรับรู้และความเข้าใจร่วมกันว่าคนพิการมีศักยภาพทางานร่วมกับคนทั่วไปได้