วัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมลายู ในประเทศมาเลเซีย
BY ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรยุทธ โอรพันธ์
ประเภทงานวิจัย:งานวิจัย
ปีที่เผยแพร่:2017
ระดับงานวิจัย:ระดับชาติ
คำสำคัญ:วัฒนธรรมทางการเมือง, การสื่อสารทางการเมือง, ชาวไทยเชื้อสายมลายู, ทฤษฎีฐานราก, Political Culture, Political Communication, Grounded Theory, Malay-Speaking Thai
บทคัดย่อ:
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองและการสื่อสารทางการเมืองของชาวไทยเชื้อสายมลายูในประเทศมาเลเซีย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ตามแนวทางทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) โดยทาการสัมภาษณ์ชาวไทยเชื้อสายมลายูจานวน 29 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซียจานวน 15 คน พนักงานร้านอาหารไทยในประเทศมาเลเซียจานวน 8 คน นักศึกษาไทยในประเทศมาเลเซียจานวน 4 คน และนักวิชาการด้านศาสนาอิสลามในประเทศมาเลเซียจานวน 2 คน ผลการศึกษาพบว่าชาวไทยเชื้อสายมลายูที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสมผสานคือแบบไพร่ฟ้าผสมการมีส่วนร่วม กล่าวคือระบบการเมืองที่ประชาชนบางมีความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ขณะที่บางส่วนก็มีความเฉยชาทางการเมือง นอกจากนี้ยังพบว่าชาวไทยเชื้อสายมลายูมีการสื่อสารทางการเมืองผ่านโครงสร้างของระบบการสื่อสาร 6 ประเภทได้แก่ 1. การสื่อสารแบบซึ่งหน้าอย่างไม่เป็น 2. การสื่อสารในโครงสร้างสังคมที่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเพื่อการเมือง 3. การสื่อสารในโครงสร้างปัจจัยนาเข้าของระบบการเมือง 4. การสื่อสารในโครงสร้างปัจจัยส่งออกของระบบการเมือง 5. การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน และ 6. การสื่อสารผ่านสื่อใหม่