การรวบรวมหลักฐานและการพัฒนาฐานข้อมูลของตานานภัยพิบัติในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย
BY ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เซ็นโจ นะไก
ประเภทงานวิจัย:งานวิจัย
ปีที่เผยแพร่:2020
ระดับงานวิจัย:ระดับชาติ
คำสำคัญ:ภัยพิบัติ, การสื่อสารเพื่อการพัฒนา, ตานาน, มนุษยศาสตร์ดิจิทัล, ฐานข้อมูล, คติชนวิทยา, ภัยพิบัติ, เชียงราย, พื้นที่ชุ่มน้าเวียงหนองหล่ม, ปลาไหล, แม่ม่าย, disaster, development communication, legend, digital humanities, archive, Chiang Rai, Wīangno ̜̄nglom Wetlands, eel, widow
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) รวบรวมและจัดทาฐานข้อมูลคติชนเกี่ยวกับเมืองโยนกนาคพันธ์ซึ่งกล่าวกันว่าถูกทาลายจากภัยพิบัติหลังจากการฆ่าปลาไหลเผือก และ (2) ส่งเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้าฯเข้ามามีส่วนร่วมในการขยายฐานข้อมูลเพื่อความสมบูรณ์และสืบทอดคติชนของชุมชนต่อไป
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทาการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์หลักที่มีความรู้ด้านวัฒนธรรม (tradition bearer) จานวน 20 คน ได้แก่ เจ้าอาวาสของวัดในชุมชน ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ครู นักพัฒนาเอกชน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้สูงอายุ ชาวนา ชาวประมงในชุมชนเวียงหนองหล่ม เป็นต้น ทาการเก็บข้อมูลจากพื้นที่ชุมน้าบริเวณรอบเวียงหนองหล่ม จานวน 4 ตาบล ได้แก่ จันจว้า จันจว้าใต้ โยนก และ ท่าข้าวเปลือก โดยเก็บข้อมูลระหว่าง พ.ศ.2560–2563
ผลการวิจัยพบว่าตานานเวียงหนองหล่มมีการแปรเปลี่ยนหลายรูปแบบ ซึ่งจากการวิจัยพบว่ามีจานวนรวม 7 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่1. เรื่องเล่า รูปแบบที่2. ความเชื่อ รูปแบบที่3. ศิลปะการแสดง รูปแบบที่4.วรรณกรรม รูปแบบที่5. ชื่อ รูปแบบที่6. ครอบครัวและเครือญาติ และ รูปแบบที่7. คติชนร่วมสมัย สาหรับฐานข้อมูลคติชนเกี่ยวกับเมืองโยนกนาคพันธ์ที่รวบรวมวิเคราะห์จากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโครงการต่างๆของท้องถิ่น เช่น โครงการมัคคุเทศก์ของชมรมมัคคุเทศก์ การเรียนการสอนในสาระสังคมศึกษา การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งจากการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในโครงการต่างๆดังกล่าว ครู นักเรียน และ ผู้ที่สนใจจะสามารถมีส่วนร่วมในเพิ่มเติมขยายฐานข้อมูลเพื่อความสมบูรณ์และสืบทอดทางคติชนของชุมชนสืบต่อไป